ประชาสัมพันธ์ชำระภาษี
คำแนะนำการชำระภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ
ภาษีที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ เก็บเอง ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ตามราคาประเมินของที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ ที่ดินที่จะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ได้แก่ ที่ดินที่เป็นของบุคคลหรือคณะบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือสิทธิครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน ที่ดินที่จะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ได้แก่ พื้นที่ดิน และพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย โดยไม่เป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินได้รับการยกเว้นภาษีหรืออยู่ในเกณฑ์ลดหย่อน
ผู้มีหน้าที่ชำระภาษี
Ø ให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินเป็นรายแปลง
Ø ถ้าเจ้าของที่ดินตาย ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้เสียภาษี
Ø ถ้าบุคคลหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ให้บุคคลเหล่านั้นมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน
Ø ถ้าขายที่ดินหรือเปลี่ยนมือให้ผู้อื่น ให้ผู้รับโอนนำโฉนดตัวจริงมาแจ้ง ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ เพื่อเปลี่ยนชื่อเจ้าของที่ดิน
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี
Øมาตรา 34ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่นำเงินไปชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 เมษายน ของทุกปี
Øมาตรา 38 ถ้าไม่ได้ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือเป็นภาษีบำรุงท้องที่ค้างชำระ(ต้องเสียเงินเพิ่ม)
Ø ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินใหม่ หรือที่ดินเปลี่ยนแปลง ให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่โอนกรรมสิทธิ์
หลักฐานใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน
1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนบริษัท 4. หลักฐานที่แสดงการเป็นเจ้าของที่ดิน
5. หนังสือมอบอำนาจในกรณีให้ผู้อื่นมาทำแทน 6. หลักฐานอื่นๆ
อัตราโทษและค่าปรับ
1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนด เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 1% ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
3. ชี้เขตแจ้งจำนวนที่ดินไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1 เท่าของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม
4. ชำระภาษีเกินกำหนดคือวันที่ 30 เม.ย. ต้องเสียเงินเพิ่ม 24% ต่อปี ของค่าภาษีเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบ้านเช่า อาคาร ร้านค้า ตึกแถว สำนักงาน บริษัท โรงงานอุตสาหกรรม หอพัก ฟาร์มสัตว์ ฯลฯ และบริเวณที่ดินที่ปกติใช้ร่วมไปกับโรงเรือนนั้น
Äผู้มีหน้าที่ชำระภาษีÃ
- Ø เจ้าของทรัพย์สินอันได้แก่ โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น และที่ดิน เป็นเจ้าของเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินนั้นก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี เช่น บ้านให้เช่า โรงสี ร้านค้า โรงแรม ปั้มน้ำมัน ร้านอาหาร ตลาดสด
- Ø ที่ดินและโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นคนละเจ้าของ กฎหมาย กำหนดให้เจ้าของโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ต้องเป็นผู้เสียภาษี เช่น เช่าที่ดินคนอื่นสร้างอู่ซ่อมรถ เจ้าของอู่ซ่อมรถต้องเสียภาษี
อัตราภาษี
ร้อยละ 12.5 ของค่ารายปี คือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ
หลักฐานที่ใช้ประกอบการชำระภาษี
1. สำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประจำตัวประชาชน 4. ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนการค้า/ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. สำเนาโฉนด / สัญญาซื้อชายที่ดิน 5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมีผู้อื่นมายื่นแบบ ภ.ร.ด.2 แทน)
3. สัญญาเช่าโรงเรือน / สัญญาเช่าที่
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจยื่นแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (ภ.ร.ด.2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค. ถึงสิ้นเดือน ก.พ. ของทุกปี
2. พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินให้แก่ผู้รับประเมินทราบ
3. ผู้รับการประเมินต้องชำระเงินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด.8)
การอุทธรณ์
หากผู้รับการประเมินไม่พอใจในการประเมินให้ยื่นคำร้องภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราโทษและค่าปรับ
1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการมีความผิดโทษปรับไม่เกิน 200 บาทและเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน10 ปี
2. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี
3. ถ้าชำระภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้
3.1 ไม่เกิน 1 เดือนเสียเงินเพิ่ม 2.5%
3.2 เกิน 1 เดือนแต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5%
3.3 เกิน 2 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5%
3.4 เกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10%
3.5 เกิน 4เดือนขึ้นไปให้ยึดอายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ต้องขอให้ศาลสั่งหรือออกหมายยึด
ภาษีป้าย
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้า หรือโฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
อัตราภาษี
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพ หรือเครื่องหมายอื่นคิดอัตรา 20 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
3. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ หรือ ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศคิดอัตรา 40 บาทต่อ 500 ตร.ซม.
4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
หลักฐานที่ใช้ประกอบการชำระภาษีป้าย
1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. หนังสือรับรองหุ้นส่วนบริษัท
5. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายหรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย 6. หลักฐานอื่นๆ
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1. เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ตั้งแต่ 2 ม.ค. ถึง 31 มี.ค. ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปียกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงป้ายใหม่แทนป้ายเดิมหรือแก้ไขข้อความ ภาพ ในป้ายให้ยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้ายภายใน 15 วัน และให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงสิ้นปี
2. ผู้เสียภาษีต้องมาชำระเงินค่าภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
3. กรณีค่าภาษีป้ายเกิน 3,000 บาท จะขอผ่อนชำระเป็น 3 งวดๆ ละเท่าๆ กัน ได้โดยแจ้งความจำนงเป็นหนังสือก่อนครบกำหนดเวลาชำระหนี้
การคิดคำนวณค่าภาษีป้ายที่ติดตั้งในปีแรก
Ä ติดตั้งป้ายในปีแรกในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม คิดค่าภาษีป้าย 100 %
Ä ติดตั้งป้ายในปีแรกในช่วงระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน คิดค่าภาษีป้าย 75%
Ä ติดตั้งป้ายในปีแรกในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน คิดค่าภาษีป้าย 50%
Ä ติดตั้งป้ายในปีแรกในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม คิดค่าภาษีป้าย 25%
การอุทธรณ์
ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายโดยให้ยื่นคำอุทธรณ์ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราโทษและค่าปรับ
1. ไม่ยื่นแบบรายการเสียภาษีป้ายภายในเดือน มี.ค. หรือติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
3. ไม่ชำระภาษีภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน
4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท
5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วันตั้งแต่วันรับโอนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท
6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ ที่อยู่ เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทยให้ชัดเจนมุมขวาด้านล่างของป้ายซึ่งติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตร.ม. ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
7. ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ งานจัดเก็บรายได้ ส่วนการคลัง
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ 093-0943-467